วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

การนำเสนองานกลุ่ม วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2556

โครงการ ออกแบบเพื่อชุมชน โครงงาน : การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบ การสินค้าในเขต ซอยเสือใหญ่ เขตจันทรเกษม : ร้านขนมโตเกียวหลังม.รายวิชาออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ภาคเรียนที่ 1 / 2556







วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Moodborad ส3. สรุปผล (Result)

Moodborad ส3. สรุปผล (Result) นาย พีรติ จึงประกอบ
เป็นการสรุปผลทั้งหมดเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาสิ่งต่างๆภายในร้านขนมโตเกียวไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของร้านเพื่อให้ใส่ขนมโตเกียวได้ดูสวยงามแล้วใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดแล้วยังมีการออกแบบโลโก้ของร้านด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับตัวบรรจุภัณฑ์ของร้านมากยิ่งขึ้น โดยการออกแบบโลโก้นั้นได้เลือกรูปแบบลักษณะของนาย ดุสิต มณียัง มาเป็นตัวต้นแบบในโลโก้ร้านสิ่งที่ต้องทำก็คือนำโลโก้นั้นมาใส่ไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบส่วนตัวบรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบนั้นจะเป็นรูปแบบของกล่องมีหูหิ้วโดยที่ไม่ต้องใส่ถูงพลาสติกเลยเพราะมีหูหิ้วในตัวอยู่แล้วลักษณะเป็นแบบ 2 ชิ้น ชิ้นแรกเป็นกล่องเพื่อใส่ขนมโตเกียวโดยมีข้อความจูงใจให้มาลิ้มลองมากมายส่วนตัวหูหิ้วนั้นก็จะมีรูปโลโก้ของร้านเป็นตัวชูโรงเพื่อให้ลูกค้าเห็นอย่างเด่นชัดนั้นเองเวลาเดินถือไปไหนต่อไหนก็จะเห็นสวยงามโดดเด่น
Moodborad ส3. สรุปผล (Result) นาย พิศรุต เอี่ยมรักษา
เป็นการสรุปผลทั้งหมดเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาสิ่งต่างๆภายในร้านขนมโตเกียวไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของร้านเพื่อให้ใส่ขนมโตเกียวได้ดูสวยงามแล้วใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดแล้วยังมีการออกแบบโลโก้ของร้านด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับตัวบรรจุภัณฑ์ของร้านมากยิ่งขึ้น โดยการออกแบบโลโก้นั้นได้เลือกรูปแบบลักษณะของนาย ดุสิต มณียัง มาเป็นตัวต้นแบบในโลโก้ร้านสิ่งที่ต้องทำก็คือนำโลโก้นั้นมาใส่ไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบส่วนตัวบรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบนั้นจะเป็นรูปแบบของกล่อง 4เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะเทคนิคของกล่องนั้นเป็นแบบสอดใช้กาวติดแค่ที่เดียวสามารถพับแล้ววางทับกันเป็นชั้นๆได้ไม่เปลืองเนื้อที่เลยส่วนเรื่องของโลโก้นั้นได้คัดเลือกมาจากนาย ดุสิต มณียัง แล้วเพราะเป็นโลโก้ที่กลุ่มได้คัดเลือกมาโดยนำเจ้าโลโก้นี่มาใส่ลงในตัวบรรจุภัณฑ์หรือกล่องของเรานั้นเองส่วนเรื่องของกราฟฟิกตัวบรรจุภัณฑ์นั้นเรามองเห็นว่าควรจะใส่อะไรที่เป็นไทยลงไปนิดหน่อยเราจึงได้นำเอาใบตองมาเป็นลายกราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์ซะเลยเพราะมันจะทำให้เห็นว่าเมื่อเราซื้อขนมโตเกียวมาแล้วนั้นเหมือนได้เอาห่อใบตองกลับมาด้วยเพราะมีความสดของสีใบตองอยู่ทำให้ดูเด่นสวยงามรักธรรมชาตินั้นเอง
Moodborad ส3. สรุปผล (Result) นาย ดุสิต มณียัง
เป็นการสรุปผลทั้งหมดเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาสิ่งต่างๆภายในร้านขนมโตเกียวไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของร้านเพื่อให้ใส่ขนมโตเกียวได้ดูสวยงามแล้วใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดแล้วยังมีการออกแบบโลโก้ของร้านด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับตัวบรรจุภัณฑ์ของร้านมากยิ่งขึ้น โดยการออกแบบโลโก้นั้นได้เลือกรูปแบบลักษณะของนาย ดุสิต มณียัง มาเป็นตัวต้นแบบในโลโก้ร้านสิ่งที่ต้องทำก็คือนำโลโก้นั้นมาใส่ไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบส่วนตัวบรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบนั้นจะเป็นรูปแบบของบรรจุภัณฑ์กล่อง 4 เหลี่ยมแบบมีฝาปิดโดยข้างบนกล่องเป็นโลโก้ของร้านโดยทำการสรุปมาว่าจะใช้โลโก้ของตัวผมเองเพราะลักษณะโลโก้นั้นจะเป็นเหมือนเซฟญี่ปุ่นชูนิ้วโป้งออกมาเป็นความหมายว่าเยี่ยมจริงๆส่วนในด้านฝาปิดนั้นจะใส่ชื่อร้านอย่างชัดเจนเพื่อเป็นอัตลักษณ์ให้คนจำร้านโตเกียวได้ง่ายส่วนเรื่องสีของตัวบรรจุภัณฑ์นั้นจะเป็นสีเปลือกไข่เพราะได้ดูจากการผลิตวัตถุดิบเช่นแป้งและไส้แล้วนั้นก็ส่วนใหญ่ก็จะมีไข่เป็นส่วนผสมหลักๆนั้นเองเราจึงเลือกสีนี้เป็นสีของตัวบรรจุภัณฑ์และเพื่อความสวยงามนั้นเอง
Moodborad ส3. สรุปผล (Result) นางสาว ภัชธีญา พันธุ์ประดิษฐุ์
เป็นการสรุปผลทั้งหมดเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาสิ่งต่างๆภายในร้านขนมโตเกียวไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของร้านเพื่อให้ใส่ขนมโตเกียวได้ดูสวยงามแล้วใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดแล้วยังมีการออกแบบโลโก้ของร้านด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับตัวบรรจุภัณฑ์ของร้านมากยิ่งขึ้น โดยการออกแบบโลโก้นั้นได้เลือกรูปแบบลักษณะของนาย ดุสิต มณียัง มาเป็นตัวต้นแบบในโลโก้ร้านสิ่งที่ต้องทำก็คือนำโลโก้นั้นมาใส่ไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบส่วนตัวบรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบนั้นจะเป็นรูปแบบของฝาปิดที่จะเน้นรูปผู้หญิงญี่ปุ่นไว้อย่างโดดเด่นเพราะเวลาเปิดบรรจุภัณฑ์มาแล้วนั้นก็จะเห็นรูปหน้าเด็กสาวคนนี้อย่างชัดเจนถือว่าเป็นตัวชูโล่งเลยก็ว่าได้ส่วนตัวบรรจุภัณฑ์เองนั้นใช้กราฟฟิกเป็นลักษณะลายไล่สีต่างๆไปนั้นเองโดยฝาด้านบนนั้นจะใส่รูปโลโก้ของร้านขนมโตเกียวที่สรุปมาจากแบบของนาย ดุสิต มณียัง ได้ใส่ลงในฝาด้านบนเป็นรูปลักษณะใหญ่โดดเด่นทำให้เห็นได้ชัดเวลาซื้อไปแล้วนั้นก็จะเห็นเด่นชัดสวยงามและสะดุดตานั้นเอง

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Moodboard ส2. สมมติฐาน (Resume)

Moodboard ส2. สมมติฐาน (Resume) นาย พีรติ จึงประกอบ
เป็น Moodboard ที่ใส่สมมติฐานของร้านที่เราศึกษาลงไปโดย Moodboard ของนาย พีรติ จึงประกอบเป็นการศึกษากล่องบรรจุภัณฑ์ของร้านโดยละเอียดว่ามีขนาดเท่าไรบ้างแล้วก็ตัวขนาดของขนมโตเกียวมีขนาดเท่าไร แต่ตัวขนาดขนมโตเกียวมีนาดที่ไม่สามารถเท่ากันได้อยู่แล้วเพราะเวลาลงแป้งนั้นจะใช้มือของเจ้าของร้านเป็นการหยอดแป้งลงไปมากกว่าเพราะถ้าใช้มือมันจะมีขนาดไม่เท่ากันเท่าไรหนักเพราะไม่ใช่เครื่องจักรเพราะถ้าเป็นเครื่องจักรก็จะมีความเที่ยงตรงกว่ามือคน แล้วยังได้แสดงถึงแบบสเก็ตของตัวบรรจุภัณฑ์ต่างๆเอาไว้เป็นไอเดียของ นาย พีรติ เองด้วยจะได้เป็นแนวทางการออกแบบในการทำแบบจริง สิ่งที่สเก็ตของจะมีแบบกล่องแล้วก็แบบโลโก้ของร้านขนมโตเกียวหลังม.
Moodboard ส2. สมมติฐาน (Resume) นาย พิศรุต เอี่ยมรักษา
เป็น Moodboard ที่ใส่สมมติฐานของร้านที่เราศึกษาลงไปโดย Moodboard ของนาย พิศรุต เอี่ยมรักษา Moodboard นี้เป็นการตั้งสมมติฐานว่าตัวบรรจุภัณฑ์นี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไรแล้วจึงนำเอาไปศึกษาแล้วปรับปรุงพัฒนาออกแบบแล้วนำมาใช้ให้อย่างถูกต้องแล้วได้ผลประโยชน์มากที่สุดสิ่งที่เราควรที่จะพัฒนาให้กับร้านขนมโตเกียวหลังม.นั้นก็คือ ต้องคำนึกถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับว่ามีผลประโยชน์หรือความสะดวกสบายอย่างไรบ้าง ต้องมีความสวยงามสะดุดตาเพราะตัวบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นเหมือนหน้าตาของร้านเลยทีเดียว ต้องมีการเก็บรักษาคุณภาพอาหารที่เราขายไว้ให้ได้นานที่สุดเพราะว่าสิ่งสำคัญที่สุดนั้นก็คือคุณภาพอาหารเพราะเราขายของบริโภคให้ลูกค้า ให้การออกแบบนั้นควรจะไม่ซับซ้อนมากเพราะว่ายิ่งซับซ้อนมากนั้นเท่ากับว่าค่าใช้จ่ายนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นนั้นเอง
Moodboard ส2. สมมติฐาน (Resume) นาย ดุสิต มณียัง
เป็น Moodboard ที่ใส่สมมติฐานของร้านที่เราศึกษาลงไปโดย Moodboard ของนาย ดุสิต มณียัง นี้เป็นการตั้งสมมติฐานว่าตัวบรรจุภัณฑ์นี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไรแล้วจึงนำเอาไปศึกษาแล้วปรับปรุงพัฒนาออกแบบแล้วนำมาใช้ให้อย่างถูกต้องแล้วได้ผลประโยชน์มากที่สุด แบบกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ขนมโตเกียวออกแบบมาในรูปแบบกล่องที่มีฝาปิดเพื่อเก็บความร้อนของขนมให้คงอยู่ได้นานลักษณะของกล่องนั้นสามารถพับเก็บได้รูปแบบให้การเจาะรูแต่ละมุมเพื่อเกี่ยวยึดให้เป็นทรงรูปกล่องได้สิ่งที่ควรพัฒนาก็คือ คำนึกถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าควรที่จะได้รับ บรรจุภัณฑ์ควรมีความสวยงามกว่าที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้ ตัวบรรจุภัณฑ์ควรที่จะต้องรักษาคุณภาพขนมไว้ด้วย บรรจุภัณฑ์ควรที่จะเอาออกมาใช้ได้ง่ายสะดวกสบาย
Moodboard ส2. สมมติฐาน (Resume) นางสาว ภัชธีญา พันธุ์ประดิษฐุ์
เป็น Moodboard ที่ใส่สมมติฐานของร้านที่เราศึกษาลงไปโดย Moodboard ของนาย ดุสิต มณียัง นี้เป็นการตั้งสมมติฐานว่าตัวบรรจุภัณฑ์นี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไรแล้วจึงนำเอาไปศึกษาแล้วปรับปรุงพัฒนาออกแบบแล้วนำมาใช้ให้อย่างถูกต้องแล้วได้ผลประโยชน์มากที่สุด Concept : คอนเซปของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตัวนี้คือเป็นการใช้สีที่สว่างเพียง 2 สีเท่านั้นเป็นรูปแบบกล่องเรียบง่ายไม่เน้นลายแต่เน้นลักษณะภาพที่นำมาเชื่อมต่อกันแล้วทำให้เกิดความหมายจึงนำหน้ารูปของผู้หญิงชาวญี่ปุ่นมาเป็นส่วนหลักๆขององค์ประกอบกล่องนี้

ในการทำ Moodboard ส2. สมมติฐาน (Resume) นั้นเราได้ทำแบบสอบถามเพื่อเป็นข้อมูลของร้านโดยเราได้ทำแบบสอบถามให้กลุ่มลูกค้าเข้าไปกรอกข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลของเราหรือว่าท่านที่อ่านอยู่ก็สามารถเข้ามากรอกข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์แก่เราได้นะครับ
https://www.surveycan.com/survey/e9aca28e-34ad-4ad6-a5bd-dab4f64d72bf?test

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Moodboard ส1. สืบค้น ( Research )

Moodborad ส.1 สืบค้น ( Research)
Moodborad ส.1 สืบค้น ( Research)
ได้ทำการสอนถามประวัติของร้านๆนี้โดยระเอียดว่ามีความเป็นมายังไงเพื่อนำไปศึกษาต่อแล้วศึกษาบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าต่างๆของร้านมาโดยระเอียดเพราะว่าจะทำนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนต่อไปว่าจะต้องนำมาพัฒนาอะไรบ้างตัวร้านขนมโตเกียวนี้โดยต้องทำการขออนุญาติเจ้าของร้านซะก่อนแล้วควรทำแบบสอบถามเพื่อให้เจ้าของร้านนั้นมีส่วนร่วมด้วยนั้นเอง










Moodborad ส.1 สืบค้น ( Research)
ได้ทำการศึกษาบรรจุภัณฑ์ของร้านโดยระเอียดมากยิ่งขึ้นโดยได้เจาะจงเป็นอย่างๆไป กรณีนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ซึ่งได้ตรงกับวิชาที่ได้เรียนอยู่เราจึงได้ศึกษาว่าตัวกล่องนี้มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้างแล้วได้สอบถามเจ้าของร้านว่ามีอะไรที่อยากจะให้เราพัฒนาเพิ่มเติมบ้างเพื่อจะได้นำมาศึกษาและพัฒนาต่อเป็นเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้นแล้วต้องนำกระบวนการต่างๆให้พี่เจ้าของร้านดูอย่างสม่ำเสมอว่าเราได้มีการพัฒนาการออกแบบไปไหนแล้วบ้างนั้นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูลเพิ่มเติมของร้าน

ข้อมูลต่างๆของร้าน
ร้านขนมโตเกียวหลังม.นั้นได้มีอุปกรณ์หรือวัตถุดิบมากมายหลายอย่างทั้งสดสะอาดพร้อมให้ลูกค้ามาได้ลองชิมกันเราลองทำความรู้จักเกี่ยวกับอุปกณ์หรือวัตถุดิบต่างๆของร้านให้มากขึ้นกัน
ประวัติของร้านขนมโตเกียวหลังม.
ชื่อร้าน : โตเกียวหลังม.
ชื่อผู้ประกอบการ : นายวิษณุ ชัยบรรดาล
เปิดบริการได้ประมาณ 5- 6 เดือนนี้เอง
ที่อยู่ : ซ.รัชดา 36 อยู่ด้านหลังม.จันทรเกษม
เปิดทุกวัน เวลา : 09.00 - 20.00 น.
ประวัติร้าน
พี่ตุ้ม (เจ้าของร้าน) ได้เล่าให้เราฟังว่าจริงๆ แล้วแกเป็นหลานชายของร้านขายเครปที่อยู่ข้างๆกันนั้นแหละโดยเดิมทีแกทำงานที่ต่างจังหวัดแล้วพอดีน้าแกได้ชักชวนให้ลองมาขายของที่กรุงเทพตัวเองจึงได้ลองมาขายดูแล้วเค้าให้พี่ตุ้มเปิดร้านขนมโตเกียวขึ้นเพราะตรงนั้นยังไม่มีใครขายเป็นชิ้นเป็นอันเลยพี่ตุ้มจึงได้ลองเปิดดูแล้วไปซื้อวัตุดิบเองทั้งหมดเลยเพราะพี่ตุ้มต้องเป็นคนเลือกเองเพราะจะได้ความสดที่เราต้องการนั้นเอง ส่วนเรื่องตัวแป้งที่ทำขนมโตเกียวนั้นพี่ตุ้มบอกว่าพี่แกได้เอามาจากร้านน้าชายนั้นก็คือร้านขายเครปนั้นแหละ แล้วพอเราเดินไปสอบถามดูแกได้บอกว่าทำมาจากแป้งสำเร็จรูปแล้วก็ใส่ความลับไปหน่อย..แต่พี่เค้าบอกเราไม่ได้เพราะมันเป็นสูตรทางร้านเค้า
พี่ตุ้มจึงเริ่มทำขนมโตเกียวขายโดยมีอยู่ 3 ไส้คือ ไส้ไข่หมูสับ,ไส้หวาน,ไส้กรอก มีแค่ 3 ไส้เท่านั้นโดยราคานั้นก็จะไม่บรรจุภัณฑ์ใส่อยู่ 2 ขนาดก็คือขนาด 3 และ 7 ชิ้น แต่พี่เค้าบอกว่าจริงๆแล้วใส่ไม่ถึงหรอก โดยราคานั้น 3-5 ชิ้นอยู่ที่ 10 บาท แล้ว 7 ชิ้นอยู่ที่ 20

ลักษณะบรรจุภัณฑ์เดิมของร้าน
ตัวบรรจุภัณฑ์เดิมของร้านนั้นจะเป็นแค่ถาดกระดาษธรรมดาที่ไม่มีสีสันอะไรเลยค่อนข้างจะบางโดยมีอยู่ 2 ขนาดเหมือนเดินนั้นก็คือขนาด 3 ชิ้น แล้วก็ขนาด 7 ชิ้นโดยจะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่างเพียงแค่เปลี่ยนไซต์เท่านั้นเองแล้วเทคนิคในการประกอบของถาดหรือกล่องใส่ตัวขนมโตเกียวนั้นจะใช้ในลักษณะของการสอดมากกว่าเพราะเค้าใช้การสอดทั้งหมด 4ด้าน4มุมเลยค่อนข้างจะแน่นอยู่จึงสามารถรองรับขนมโตเกียวได้ดี



การวิเคราะห์ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่
บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ส่วนที่วัดขนาดเป็นลักษณะกางออกมามีขนาดความกว้างอยู่ที่ 18.8 ซม.
ขนาดความยาวอยู่ที่ 11.5 ซม.และความสูง 3ซม.โดยขนาดความกว้าง 11.5 ซม.นั้นจะมีรอยพับมุม 2 ด้าน 4 มุมเท่ากันหมดทั้งขนาด 18.8 ซม. หรือ 11.5 ซม.นั้นเองโดยตรงมุมขอบของกล่องนั้นจะมีเดื่อยออกมาให้เห็นอยู่ทั้ง 4 มุม ตัวเดื่อยนี้นทำหน้าที่สอดเข้าไปกับมุมอีกมุมนึงของกล่องที่เจาะมาเป็นรูอยู่แล้วทำให้สอดเข้าไปได้โดยใช้ความหนืดของตัวกระดาษเอง แล้วสิ่งที่อยู่ภายในตัวกล่องกระดาษนั้นยังไม่มีอะไรมารองที่ร้านจึงนำเอาพลาสติกใส่ๆมารองใส่ไว้ในพื้นกล่องเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวขนมโตเกียวโดนพื้นกล่องเต็มเป็นการรักษาคุณภาพขนมโตเกียวเอาไว้นั้นเอง





การวิเคราะห์ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก
ตัวบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กเป็นถาดกระดาษทั่วไปที่ส่วนลักษณะกางออก ขนาดความกว้างนั้นอยู่ที่ 11 ซม. มีรูปแบบการดีไซต์เหมือนกับบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่นั้นก็คือมีรอยโค้งๆเหมือนกัน ส่วนความยาวนั้นอยู่ที่ 15 ซม.ลักษณะค่อนข้างเหมือนกับบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ของร้านโดยมีรอยมุมพับขนาดความกว้าง 2 ซม.อยู่เพื่อพร้อมที่จะเสียบเข้าไปเป็นการประกอบตัวบรรจุภัณฑ์นั้นเอง










อุปกรณ์และลักษณะขนมโตเกียวไส้ต่างๆภายในร้าน
เตาใส่แป้งขนมโตเกียวส่วนเตานั้นลักษณะของมันจะเป็นแผ่นกระทะทั่วไปมีลักษณะที่แบนราบสาเหตุที่ต้องเป็นลักษณะแบนราบอย่างนี้นั้นก็คือเพื่อที่ปู้ขายจะได้ปาดแป้งโตเกียวแล้วทำเป็นรูปวงรีได้ง่ายนั้นเองส่วนเรื่องการให้ความร้อนนั้นก็สังเกตุที่ข้างๆตัวกระทะนั้นจะมีหัวจ่ายแก็ซอยู่ที่ข้างๆ เป็นลักษณะเหมือนกัวแก็ซตามบ้านทั่วไปโดยเตาตัวนี้จะมีหัวจ่ายให้ความร้อนอยู่ทั้งหมด 2 หัวทำให้ตัวเตาที่ทำขนมโตเกียวนี้กระจายความร้อนได้ดีนั้นเอง



ลักษณะไส้ต่างๆและวัสดุพักขนมโตเกียวของร้านขนมโตเกียวหลังม. 
ลักษณะการขายนั้นจะเป็นตะแกงเหล็กธรรมดาที่เอาไว้พักขนมโตเกียวเผื่อรอคนมาซื้อ
ข้อเสียของตะแกงตัวนี้ก็คือ มันจะทำให้อากาศเข้าไปในตัวขนมโตเกียวมากทำให้เหี่ยวเร็วทำให้รสชาติความอร่อยนั้นได้ลดลง แล้วสังเกตุที่ป้ายสิ้นค้านั้นก็จะเป็นแบบธรรมดาโดยการที่เอาปากกามาเขียนเอาเองว่ามีไส้อะไรบ้างโดยคิดว่ามันไม่ค่อยมีจุดเด่นอะไรมากนักที่จะทำให้ลูกค้ามาสนใจได้เพราะเนื่องจากเป็นการเขียนธรรมดานั้นเอง




ส่วนเรื่องวัตถุดิบนั้นทางร้านขนมโตเกียวได้เน้นเป็นพิเศษว่าจะต้อง สด สะอาด อยู่เสมอโดยทางร้านนั้นจะมีให้ลูกค้าเลือกซื้ออยู่ 3 ไส้ด้วยกันนั้นก็คือ ไส้หวาน,ไส้ไข่หมูสับ,ไส้กรอกหมูสับ 3ไส้นี้จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปทำให้เราสามารถแยกออกเองได้โดยเป็นลักษณะของรูปลักษณ์ของตัวขนมโตเกียวโดยการมองด้วยตาหรือว่าสัมผัสก็ได้ ตัวลักษณะไส้หวานนั้นจะมีความบางหรอสีที่อ่อนกว่าไส้อื่นๆเพราะตัวไส้หวานนั้นทำมาจากสังขยาที่มีสีเหลืองตัวสังขยานั้นส่วนประกอบส่วนใหญ่คงจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักๆอยู่ทำให้เวลาโดนความร้อนนั้นมักจะซึมเข้าแป้งขนมโตเกียวได้ดีทำให้มีลักษณะที่บางกว่าไส้อื่นเห็นได้ชัด ส่วนไส้ไข่นั้นจะใช้เป็นไข่นกกระทาทั้งหมดเพราะมีต้นทุนที่ไม่สูงจนเกินไป ตัวไส้ไข่นี้ก็จะมีการใส่ไส้หมูสับที่ปรุ่งรสเข้าไปแล้วด้วยทำให้เพิ่มรสชาติความอร่อยมากยิ่งขึ้นไป
ส่วนใส่กรอกนั้นก็เหมือนกับไส้ไข่ก็คือได้ใส่ตัวไส้กรอกชิ้นโตๆเข้าไปแล้วได้เอาหมูสับที่ปรุงรสแล้วเข้าไปใส่เพื่อเพิ่มรสชาติ
มายิ่งขึ้นไป
ลักษณะวัตถุดิบต่างๆภายในร้านขนมโตเกียวหลังม. โดยวตถุดิบต่างๆนั้นจะสดสะอาดอยู่เสมอเพราะไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเก็บรักษาหรือว่าพาชนะในการใส่วัตถุต่างๆของเรานั้นจะเน้นไปที่ความสะอาดเป็นหลักสำคัญที่สุดแล้วต้องดูโล่งโปร่งสายตาทำให้ลูกค้าที่มาซื้อได้เห็นแล้วรู้สึกว่าร้านนี้มีความตระหนักในการรักษาความสะอาดอยู่มากนั้นเองสิ่งของทุกอย่างจัดอย่างเป็นระเบียบตู้โชร์ไส้ของสินค้าก็ดูสะอาดตาน่ามอง





ลักษณะของไส้ไข่นกกระทาขั้นตอนการทำนั้นก็คือการนำแป้งขนมโตเกียวนั้นเกลี่ยให้เป็นรูปวงรีในกระทะแล้วเมื่อรอสักพักให้แป้งเริ่มสุกก็ใส่ไข่นกกระทาลงไปแล้วเอาช้อนตีๆให้มันกระจายอยู่ทั่วของแผ่นโตเกียวแล้วทิ้งไว้ให้สุกแล้วต่อด้วยการเอาหมูสับที่ปรุ่งรสแล้วนั้นใส่ลงไปรอสุกมีกลิ่นหอมแล้วค่อยแกะม้วนเป็นกระบอกแล้วใส่บรรจุภัณฑ์ได้เลย

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Tokyo Crepe By-Visanu open now!!

ร้านขนมโตเกียวสุดแนวแห่งย่านหลังม.จันทรเกษมนั้นเป็นที่รู้จักค่อนข้างมากมายไม่ว่าจะเป็นด้วยความอร่อยของตัวขนมโตเกียวแล้วนั้นก็จะเป็นเจ้าของที่เราที่อารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าลูกค้าหรือตัวนักศึกษาเองจะอารมณ์เสียแค่ไหนแกก็จะยิ้มได้ตลอดเวลาจึงเป็นที่รู้จักมากมายเพราะว่าการบริการของพี่เค้าน่าประทับใจมาเป็นกันเองที่สุด โดยเราจะแนะนำทำความรู้จักกับร้าน "ขนมโตเกียวแห่งหลังม.จันทรเกษม" ให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ตัวร้านขนมโตเกียวนี้นั้นไม่ได้เปิดมานานมากเราก็ได้ไปสืบทราบมาว่าพี่เค้าเพิ่งเปิดได้ประมาณ 5-6 เดือนนี้เอง!! ถามว่าทำไมจึงมีคนรู้จักได้มากมายขนาดนี้ เอ๊ะ!ลืมบอกไปว่าพี่เค้าชื่อ พี่ตุ้ม ชื่อเต็ม ๆเค้าคือ นาย วิษณุ ชัยบันดาล เราได้ถามพี่ตุ้มว่าทำไมพี่จึงขายดีแล้วมีลูกค้าหรือนักศึกษารู้จักค่อนข้างเยอะอย่างนี้พี่ตุ้มเค้าได้บอกสั้น ๆ ว่า จริง ๆ แล้วพี่เป็นหลานของคนขายเครปร้านข้าง ๆ ไม่ไกลนี้เองลุงเค้าจึงบอกต่อว่าหลานเค้าได้มาขายขนมโตเกียวข้าง ๆ กันนี้แหละ แต่พี่เค้าเป็นคนคุยกับคนง่ายจึงเป็นที่รู้จักไม่ยากนักนั้นเอง
ส่วนต่อมาเรามาดูที่ตัวร้านเลยล่ะกันพี่ตุ้มแกจะทำร้านแบบง่าย ๆ ไม่สับซ้อนอะไรเลยโดยมีตัวโลโก้หรือแบรนด์ของเค้าที่เป็นรูปเซฟถือขนมโตเกียวอยู่แล้วก็จะมีรูปขนมโตเกียวต่าง ๆ หลากรสชาติเป็นตัวเสริมร้านเค้าให้ดูดีขึ้นมา
เรื่องวัสดุดิบนั้น พี่ตุ้มบอกว่าถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะสิ่งที่พี่เค้าขายนั้นเป็นของกินนั้นเองเค้าจึงเน้นเรื่องวัสดุดิบมากต้องสดตลอดทำวันต่อวันจะไม่ให้เหลือค้างเลยเพราะว่ามันจะเสีย
โดยที่ร้านนี้นั้นจะมีให้เลือกมากมายหลากหลายรสชาตินั้นก็คือ ไส้หวาน,ไส้กรอก,ไส้ไข่นกกระทาหมูสับ แล้วสิ่งที่พี่เค้ากำลังคิดอยู่นั้นก็คือคิดที่จะทำขนาดไซต์จัมโบ้
เรื่องราคาค่าขนมโตเกียวนั้นอยู่ที่ ชุดละ 20 บาทโดยจะมี 7 ชิ้น สามารถเลือกผสมกันได้ตามสบาย
ส่วนเรื่องแพ็คเกตนั้นเราได้ไปศึกษาอยู่ว่ามันจะมีกล่องใส้ขนมโตเกียวนั้นอยู่ 2 แบบนั้นก็คือขนาดไซต์ใหญ่เลยจะใส่ได้ประมาณ 5-10 ชิ้น ส่วนไซต์เล็กนั้นจะใส่ได้อยู่ประมาณ 3-5 ชิ้นเท่านั้นเอง
เราจึงได้มามองว่าเราควรจะออกแบบแพ็คเกตให้พี่ตุ้มเค้าเพื่อเป็นการพัฒนาตัวกล่องให้ดูสวยงามและน่ามองยิ่งขึ้นจึงได้เข้าไปคุยกับพี่ตุ้ม ส่วนตัวพี่ตุ้มนั้นก็ตกลงที่จะให้เราทำแพ็คเกตขึ้นมาใหม่โดยเค้าได้ให้ปัญหาที่เราต้องมาแก้ไขนั้นก็คือ
ปัญหาที่ต้องแก้ไข
- เรื่องแพ็คเกตที่เปิดโล่งจนเกินไปทำให้ฝุ่นหรือการอากาศเข้าไปตัวขนมโตเกียวทำให้ไม่กรอบจะเหนียวโดยผ่านไปไม่นาน
- เรื่องสีสันเพราะตัวแพ็คเกตนั้นเป็นกระดาษแข็งธรรมดาไม่มีสีสันอะไรให้สะดุดตาเลย
- เรื่องการถือไปกินไปเพราะว่าขนมโตเกียวนี้ไม่สามารถจะมีร้านที่มีเนื้อที่นั่งกินกันได้ส่วนใหญ่จึงซื้อใส่ถุงกันพี่ตุ้มเลยบอกว่าให้เราคิดเรื่องการที่ลูกค้าเดินกินแล้วสะดวกขึ้นมานั้นเอง