วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูลเพิ่มเติมของร้าน

ข้อมูลต่างๆของร้าน
ร้านขนมโตเกียวหลังม.นั้นได้มีอุปกรณ์หรือวัตถุดิบมากมายหลายอย่างทั้งสดสะอาดพร้อมให้ลูกค้ามาได้ลองชิมกันเราลองทำความรู้จักเกี่ยวกับอุปกณ์หรือวัตถุดิบต่างๆของร้านให้มากขึ้นกัน
ประวัติของร้านขนมโตเกียวหลังม.
ชื่อร้าน : โตเกียวหลังม.
ชื่อผู้ประกอบการ : นายวิษณุ ชัยบรรดาล
เปิดบริการได้ประมาณ 5- 6 เดือนนี้เอง
ที่อยู่ : ซ.รัชดา 36 อยู่ด้านหลังม.จันทรเกษม
เปิดทุกวัน เวลา : 09.00 - 20.00 น.
ประวัติร้าน
พี่ตุ้ม (เจ้าของร้าน) ได้เล่าให้เราฟังว่าจริงๆ แล้วแกเป็นหลานชายของร้านขายเครปที่อยู่ข้างๆกันนั้นแหละโดยเดิมทีแกทำงานที่ต่างจังหวัดแล้วพอดีน้าแกได้ชักชวนให้ลองมาขายของที่กรุงเทพตัวเองจึงได้ลองมาขายดูแล้วเค้าให้พี่ตุ้มเปิดร้านขนมโตเกียวขึ้นเพราะตรงนั้นยังไม่มีใครขายเป็นชิ้นเป็นอันเลยพี่ตุ้มจึงได้ลองเปิดดูแล้วไปซื้อวัตุดิบเองทั้งหมดเลยเพราะพี่ตุ้มต้องเป็นคนเลือกเองเพราะจะได้ความสดที่เราต้องการนั้นเอง ส่วนเรื่องตัวแป้งที่ทำขนมโตเกียวนั้นพี่ตุ้มบอกว่าพี่แกได้เอามาจากร้านน้าชายนั้นก็คือร้านขายเครปนั้นแหละ แล้วพอเราเดินไปสอบถามดูแกได้บอกว่าทำมาจากแป้งสำเร็จรูปแล้วก็ใส่ความลับไปหน่อย..แต่พี่เค้าบอกเราไม่ได้เพราะมันเป็นสูตรทางร้านเค้า
พี่ตุ้มจึงเริ่มทำขนมโตเกียวขายโดยมีอยู่ 3 ไส้คือ ไส้ไข่หมูสับ,ไส้หวาน,ไส้กรอก มีแค่ 3 ไส้เท่านั้นโดยราคานั้นก็จะไม่บรรจุภัณฑ์ใส่อยู่ 2 ขนาดก็คือขนาด 3 และ 7 ชิ้น แต่พี่เค้าบอกว่าจริงๆแล้วใส่ไม่ถึงหรอก โดยราคานั้น 3-5 ชิ้นอยู่ที่ 10 บาท แล้ว 7 ชิ้นอยู่ที่ 20

ลักษณะบรรจุภัณฑ์เดิมของร้าน
ตัวบรรจุภัณฑ์เดิมของร้านนั้นจะเป็นแค่ถาดกระดาษธรรมดาที่ไม่มีสีสันอะไรเลยค่อนข้างจะบางโดยมีอยู่ 2 ขนาดเหมือนเดินนั้นก็คือขนาด 3 ชิ้น แล้วก็ขนาด 7 ชิ้นโดยจะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่างเพียงแค่เปลี่ยนไซต์เท่านั้นเองแล้วเทคนิคในการประกอบของถาดหรือกล่องใส่ตัวขนมโตเกียวนั้นจะใช้ในลักษณะของการสอดมากกว่าเพราะเค้าใช้การสอดทั้งหมด 4ด้าน4มุมเลยค่อนข้างจะแน่นอยู่จึงสามารถรองรับขนมโตเกียวได้ดี



การวิเคราะห์ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่
บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ส่วนที่วัดขนาดเป็นลักษณะกางออกมามีขนาดความกว้างอยู่ที่ 18.8 ซม.
ขนาดความยาวอยู่ที่ 11.5 ซม.และความสูง 3ซม.โดยขนาดความกว้าง 11.5 ซม.นั้นจะมีรอยพับมุม 2 ด้าน 4 มุมเท่ากันหมดทั้งขนาด 18.8 ซม. หรือ 11.5 ซม.นั้นเองโดยตรงมุมขอบของกล่องนั้นจะมีเดื่อยออกมาให้เห็นอยู่ทั้ง 4 มุม ตัวเดื่อยนี้นทำหน้าที่สอดเข้าไปกับมุมอีกมุมนึงของกล่องที่เจาะมาเป็นรูอยู่แล้วทำให้สอดเข้าไปได้โดยใช้ความหนืดของตัวกระดาษเอง แล้วสิ่งที่อยู่ภายในตัวกล่องกระดาษนั้นยังไม่มีอะไรมารองที่ร้านจึงนำเอาพลาสติกใส่ๆมารองใส่ไว้ในพื้นกล่องเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวขนมโตเกียวโดนพื้นกล่องเต็มเป็นการรักษาคุณภาพขนมโตเกียวเอาไว้นั้นเอง





การวิเคราะห์ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก
ตัวบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กเป็นถาดกระดาษทั่วไปที่ส่วนลักษณะกางออก ขนาดความกว้างนั้นอยู่ที่ 11 ซม. มีรูปแบบการดีไซต์เหมือนกับบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่นั้นก็คือมีรอยโค้งๆเหมือนกัน ส่วนความยาวนั้นอยู่ที่ 15 ซม.ลักษณะค่อนข้างเหมือนกับบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ของร้านโดยมีรอยมุมพับขนาดความกว้าง 2 ซม.อยู่เพื่อพร้อมที่จะเสียบเข้าไปเป็นการประกอบตัวบรรจุภัณฑ์นั้นเอง










อุปกรณ์และลักษณะขนมโตเกียวไส้ต่างๆภายในร้าน
เตาใส่แป้งขนมโตเกียวส่วนเตานั้นลักษณะของมันจะเป็นแผ่นกระทะทั่วไปมีลักษณะที่แบนราบสาเหตุที่ต้องเป็นลักษณะแบนราบอย่างนี้นั้นก็คือเพื่อที่ปู้ขายจะได้ปาดแป้งโตเกียวแล้วทำเป็นรูปวงรีได้ง่ายนั้นเองส่วนเรื่องการให้ความร้อนนั้นก็สังเกตุที่ข้างๆตัวกระทะนั้นจะมีหัวจ่ายแก็ซอยู่ที่ข้างๆ เป็นลักษณะเหมือนกัวแก็ซตามบ้านทั่วไปโดยเตาตัวนี้จะมีหัวจ่ายให้ความร้อนอยู่ทั้งหมด 2 หัวทำให้ตัวเตาที่ทำขนมโตเกียวนี้กระจายความร้อนได้ดีนั้นเอง



ลักษณะไส้ต่างๆและวัสดุพักขนมโตเกียวของร้านขนมโตเกียวหลังม. 
ลักษณะการขายนั้นจะเป็นตะแกงเหล็กธรรมดาที่เอาไว้พักขนมโตเกียวเผื่อรอคนมาซื้อ
ข้อเสียของตะแกงตัวนี้ก็คือ มันจะทำให้อากาศเข้าไปในตัวขนมโตเกียวมากทำให้เหี่ยวเร็วทำให้รสชาติความอร่อยนั้นได้ลดลง แล้วสังเกตุที่ป้ายสิ้นค้านั้นก็จะเป็นแบบธรรมดาโดยการที่เอาปากกามาเขียนเอาเองว่ามีไส้อะไรบ้างโดยคิดว่ามันไม่ค่อยมีจุดเด่นอะไรมากนักที่จะทำให้ลูกค้ามาสนใจได้เพราะเนื่องจากเป็นการเขียนธรรมดานั้นเอง




ส่วนเรื่องวัตถุดิบนั้นทางร้านขนมโตเกียวได้เน้นเป็นพิเศษว่าจะต้อง สด สะอาด อยู่เสมอโดยทางร้านนั้นจะมีให้ลูกค้าเลือกซื้ออยู่ 3 ไส้ด้วยกันนั้นก็คือ ไส้หวาน,ไส้ไข่หมูสับ,ไส้กรอกหมูสับ 3ไส้นี้จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปทำให้เราสามารถแยกออกเองได้โดยเป็นลักษณะของรูปลักษณ์ของตัวขนมโตเกียวโดยการมองด้วยตาหรือว่าสัมผัสก็ได้ ตัวลักษณะไส้หวานนั้นจะมีความบางหรอสีที่อ่อนกว่าไส้อื่นๆเพราะตัวไส้หวานนั้นทำมาจากสังขยาที่มีสีเหลืองตัวสังขยานั้นส่วนประกอบส่วนใหญ่คงจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักๆอยู่ทำให้เวลาโดนความร้อนนั้นมักจะซึมเข้าแป้งขนมโตเกียวได้ดีทำให้มีลักษณะที่บางกว่าไส้อื่นเห็นได้ชัด ส่วนไส้ไข่นั้นจะใช้เป็นไข่นกกระทาทั้งหมดเพราะมีต้นทุนที่ไม่สูงจนเกินไป ตัวไส้ไข่นี้ก็จะมีการใส่ไส้หมูสับที่ปรุ่งรสเข้าไปแล้วด้วยทำให้เพิ่มรสชาติความอร่อยมากยิ่งขึ้นไป
ส่วนใส่กรอกนั้นก็เหมือนกับไส้ไข่ก็คือได้ใส่ตัวไส้กรอกชิ้นโตๆเข้าไปแล้วได้เอาหมูสับที่ปรุงรสแล้วเข้าไปใส่เพื่อเพิ่มรสชาติ
มายิ่งขึ้นไป
ลักษณะวัตถุดิบต่างๆภายในร้านขนมโตเกียวหลังม. โดยวตถุดิบต่างๆนั้นจะสดสะอาดอยู่เสมอเพราะไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเก็บรักษาหรือว่าพาชนะในการใส่วัตถุต่างๆของเรานั้นจะเน้นไปที่ความสะอาดเป็นหลักสำคัญที่สุดแล้วต้องดูโล่งโปร่งสายตาทำให้ลูกค้าที่มาซื้อได้เห็นแล้วรู้สึกว่าร้านนี้มีความตระหนักในการรักษาความสะอาดอยู่มากนั้นเองสิ่งของทุกอย่างจัดอย่างเป็นระเบียบตู้โชร์ไส้ของสินค้าก็ดูสะอาดตาน่ามอง





ลักษณะของไส้ไข่นกกระทาขั้นตอนการทำนั้นก็คือการนำแป้งขนมโตเกียวนั้นเกลี่ยให้เป็นรูปวงรีในกระทะแล้วเมื่อรอสักพักให้แป้งเริ่มสุกก็ใส่ไข่นกกระทาลงไปแล้วเอาช้อนตีๆให้มันกระจายอยู่ทั่วของแผ่นโตเกียวแล้วทิ้งไว้ให้สุกแล้วต่อด้วยการเอาหมูสับที่ปรุ่งรสแล้วนั้นใส่ลงไปรอสุกมีกลิ่นหอมแล้วค่อยแกะม้วนเป็นกระบอกแล้วใส่บรรจุภัณฑ์ได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น